Last updated: 22 ธ.ค. 2567 | 14 จำนวนผู้เข้าชม |
นายประพันธ์ศักดิ์ รักษ์ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล ดับเบิลยู เอส วิสดอม แอนด์ โซลูชั่นส์จำกัด บริษัทวิจัยและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในเครือ บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงแนวโน้มการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในปี 2568 ว่า ปี 2568 เป็นปีของการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ในการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่มีนัยสำคัญที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของโลก ที่ส่งผลต่อการอยู่อาศัยของประชากร ประเทศไทยอยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับกฏหมายว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในปี 2568 - 2569 และปี 2568 เป็นการขับเคลื่อน Thailand Taxonomy ในระยะที่สอง
ซึ่งภาคอสังหาฯ และการก่อสร้างเป็นภาคอุตสาหกรรมที่อยู่ในกลุ่มนี้ ผนวกกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของโลกที่หลายประเทศก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุรวมทั้งประเทศไทยที่องค์การสหประชาชาติคาดว่า ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอดคือมีสัดส่วนของประชากรผู้สูงอายุ(อายุเกิน 60 ปี) เกิน 20% ของจำนวนประชากรของประเทศในปี 2573
โดยปัจจุบันประชากรสูงอายุของไทยคิดเป็นสัดส่วนถึง 18.3% ของจำนวนประชากรทั้งหมดหมายถึงประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว ถึงแม้จะยังไม่ถึงระดับสุดยอดก็ตามนอกจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนแปลงไปแล้ว การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นเร็ว
และมีผลต่อการใช้ชีวิตของผู้คนในปัจจุบันโดยเฉพาะเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (ArtificialIntelligence) ที่สร้างฉากทัศฯใหม่ในการใช้ชีวิตของผู้คน ทั้งด้านการทำงานและความเป็นอยู่รวมไปถึงความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกมาตั้งแต่ปี 2566 ถึงปัจจุบันและคาดว่าจะต่อเนื่องไปในปี 2568
ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการขับเคลื่อนนโยบายทางเศรษฐกิจและการเมืองของแต่ละประเทศยังไม่นับรวมถึงความไม่แน่นอนทางการเมืองภายในประเทศไทยเอง
ที่อาจส่งผลกระทบกับกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปี 2568
“จากปัจจัยต่างๆ ทำให้ปี 2568 เป็นอีกปีที่ท้าทายของทุกภาคธุรกิจในการขับเคลี่อนองค์กรให้สามารถยืนอยู่บนคลื่นของการเปลี่ยนแปลงที่เกิด ขึ้นรวมทั้งภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่ต้องปรับตัวพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริการให้ตอบโจทย์กับความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปท่ามกลางบริบทใหม่ที่เกิดขึ้นทั้งด้านเศ
รษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อที่จะได้ยืนอยู่เหนือคลื่นของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และจากปัจจัยต่างๆ
LWS เปิด 3 เมกะเทรนด์สำคัญในการพัฒนาที่อยู่อาศัยในปี 2568 ประกอบด้วย
การพัฒนาที่อยู่อาศัยโดยคำนึงถึงสุขภาวะที่ดี (Well-Topia), การออกแบบเพื่อคนทุกวัย(Universal Design) และการออกแบบโดยใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Technology & Environment)”นายประพันธ์ศํกดิ์ กล่าว
การพัฒนาที่อยู่อาศัยโดยคำนึงถึงสุขภาวะที่ดี (Well-Topia)
เป็นแนวทางในการพัฒนาโดยคำนึงถึงการออกแบบที่ให้ความสำคัญกับเรื่องของการอยู่อาศัยเพื่อสุขภาวะที่ดี ทั้งการเลือกใช้วัสดุและการออกแบบที่ดี ต่อสุขภาพ รวมไปถึงการสร้างชุมชน (Community) เพื่อตอบโจทย์การอยู่อาศัยรวมกันของคนทุกวัยโดยเฉพาะสำหรับผู้สูงอายุ ภายใต้แนวคิด
“สูงวัยอย่างมีสุขภาวะที่ดี” โดยองค์ประกอบสำคัญในการออกแบบโครงการต้องประกอบด้วย
พื้นที่สีเขียวที่เพียงพอ, สวนขนาดเล็ก (Pocket Park), พื้นที่พักผ่อนของผู้สูงวัย (Senior Playground), ใกล้แหล่งร้านค้าสะดวกต่อการเดินทาง, มี AI ช่วยตรวจสอบความปลอดภัยในเส้นทางการเดิน และมีบริการทางการแพทย์ที่รอบด้าน
รวมไปถึงการพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยที่ทำงานร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและเทค โนโลยี แบบ 24 ชั่วโมงใน 7 วัน และออกแบบพื้นที่การ อยู่อาศัยโดยเฉพาะในพื้นที่ส่วนกลางที่ตอบโจทย์กับคนทุกเพศและทุกวัย
ตอบโจทย์กับสังคมที่มีความหลากหลายทางเพศ เพื่อสร้างสุขภาวะที่ดีในการอยู่อาศัยแบบ 360 องศา การออกแบบสำหรับคนทุกวัยเพื่อความยั่งยืนในการอยู่อาศัย (Universal Design for Sustainable living) ปัจจุบันความหลากหลายทางเพศได้รับการยอมรับในสังคมมากขึ้น ผนวกกับโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้แนวทางการออกแบบที่อยู่อาศัยในปัจจุบันต้องให้ความสำคัญกับการออกแบบเพื่อคน
ทุกเพศและทุกวัย เพื่อการอยู่อาศัยอย่างยั่งยืน เช่น การสร้างป่าในเมือง (Urban Forest), อาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม, แหล่งพลังงานสะอาด และกลยุทธ์การลดขยะ การเกษตรในเมือง และสวนชุมชนจะกลายเป็นที่นิยมมากขึ้น รวมถึงการนำธรรมชาติเข้ามาในพื้นที่อยู่อาศัย เช่น การใช้พืชประดับ การออกแบบให้มีแสงธรรมชาติส่องเข้ามาได้มากขึ้น ทำให้ผู้คนรู้สึกใกล้ชิดกับธรรมชาติ
โดย Biodiversity Net Gain คือการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ
เป็นแนวทางใหม่ที่ผสมการอนุรักษ์เข้ากับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ในขณะเดียวกัน พื้นที่ใช้งานในแต่ละพื้นที่ต้องมีความยืดหยุ่น และหลากหลาย (Multifunctional Spaces) เช่น ห้องทำงานสามารถปรับเป็นห้องนอน หรือพื้นที่กลางแจ้งที่สามารถใช้เป็นพื้นที่พบปะสังสรรค์ได้ รวมไปถึงความยืดหยุ่นทางด้านเวลาใช้งานด้วย เช่น Fitness 24 ชม., Co-Working 24 ชม.
รวมไปถึงการออกแบบที่อยู่อาศัยให้สามารถอยู่ร่วมกันได้ทั้งคนและสัตว์เลี้ยง
เพื่อตอบโจทย์กับพฤติกรรมการอยู่อาศัยของผู้คน ในปัจจุบันที่ให้ความสำคัญกับสัตว์เลี้ยงมากขึ้นในแบบของ Pet-Parent การออกแบบโดยใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Technology & Environment)
ปัจจุบันผู้คนให้ความสำคัญกับการอยู่อาศัยที่ใช้เทคโนโลยี เข้ามามีส่วนช่วยให้การใช้ชีวิตสะดวกสบายมากขึ้น และ ในขณะเดียวกันต้องเป็นเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ถือเป็นความรับผิดชอบต่อส่วนรวม โดยเฉพาะในภาวะที่ประเทศไทยกำลังขับเคลื่อนสู่การเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำตามข้อตกลงปา
รีส หรือ COP 21 ที่ลงนามร่วมกัน 197 ประเทศในปี 2558 - 2559 เพื่อลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก เพื่อให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นไม่เกิน 1.5 องศา
ในปี 2570 ภายใต้แนวโน้มดังกล่าว การพัฒนาที่อยู่อาศัยในปี 2568 ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์จำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงการออกแบบ การเลือกวัสดุ การก่อสร้าง รวมไปถึงการอยู่อาศัยที่ต้องลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
รวมไปถึงการลดปริมาณขยะในทุกขั้นตอนของกระบวนการทำงาน กล่าวคือ
การออกแบบควรออกแบบโดยคำนึงถึงการลดการใช้พลังงานในอาคาร การเลือกวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการนำเทคโนโลยีที่ประหยัดพลังงานมาใช้ในพื้นที่อาคาร เช่น การนำเทคโนโลยี Solar Cell
มาใช้ในพื้นที่ส่วนกลาง เพื่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และลดค่าใช้จ่ายในระยะยาว, ติดตั้งจุด EV Chargerพร้อมกับสนับสนุนการมีสิ่งแวดล้อมที่ดีกับการมีจุดคัดแยกขยะ
จากการสำรวจของ LWS เมื่อเดือนตุลาคม 2567 จากจำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม 670 คน พบว่า ผู้สนใจซื้ออาคารชุดให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม โดยแบ่งเป็นกิจกรรมที่อยากให้มีในโครงการคือ 38% ของผู้ตอบแบบสอบถามต้องการให้มีการคัดแยกขยะ ถัดมา 32% ต้องการให้โครงการใช้พลังงานไฟฟ้าจาก Solar Cell เข้ามาทดแทนการไฟฟ้าในพื้นที่ส่วนกลาง และทุกกิจกรรมที่กล่าวมา เป็นการก้าวไปสู่เป้าหมาย Net Zero ในปี พ.ศ. 2608
นอกจากนี้การนำเทคโนโลยีการอยู่อาศัยที่ตอบโจทย์กับการใช้ชีวิตของคนหลากหลายเพศและวัยในโครงการเป็นสิ่งจำเป็นสำคัญ การเปลี่ยนผ่านประเทศไปสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ โดยการนำเทคโนโลยี IoT เพื่อผู้สูงอายุมาใช้ อาทิ
Home Automation, ระบบแจ้งเตือน, ระบบกล้อง ฯลฯ
ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจของ LWS โดยพบสัดส่วนความต้องการเทคโนโลยีภายในที่อยู่อาศัยของกลุ่มผู้สูงอายุมากถึง 70% ในขณะที่กลุ่มอื่นๆ เฉลี่ย 60% ซึ่งเป็นข้อบ่งชี้ที่สำคัญสำหรับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป แต่รายละเอียดการใช้งานต้องกระชับ เข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน ซึ่งปัจจุบันผู้ประกอบการหลายธุรกิจเริ่มปรับตัว อย่างธุรกิจพัฒนาอสังหาฯ ที่ใส่ใจตั้งแต่การออกแบบด้วย Universal Design มีเทคโนโลยี IoT ภายในที่อยู่อาศัย รวมถึงงานบริการ เช่น รถรับ-ส่งโรงพยาบาลใกล้เคียง, ดูแลผู้สูงอายุ เป็นต้น เพื่อตอบโจทย์ความต้องการ
“ทั้ง 3 เมกะเทรนด์ เป็นสิ่งที่เริ่มเกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2567 และ จะมีความชัดเจนมากขึ้นในปี 2568 ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในหลายมิติทั้งในระดับโลกและระดับประเทศ LWS มั่นใจว่า บริษัทอสังหาฯ ที่ปรับตัวได้ก่อน จะสามารถขึ้นไปอยู่เหนือคลื่นของการเปลี่ยนแปลงได้สำเร็จ” นายประพันธ์ศักดิ์ กล่าว
22 ธ.ค. 2567
22 ธ.ค. 2567
22 ธ.ค. 2567